วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์

 คอมพิวเตอร์เป็นเพียงแค่อุปกรณ์ที่ทางานตามคาสั่งที่รับมาจากผู้ใช้ ดังนั้นผู้ใช้จึงจาเป็นต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทาอะไร โดยการสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทางานที่ต้องการ วิธีการสั่งงานดังกล่าวต้องอาศัยโปรแกรม ซึ่งก็คือกลุ่มของโปรแกรมหรือกลุ่มของคาสั่งโดยใช้ภาษาต่างๆ ในการเขียนโปรแกรมขึ้นมา ซึ่งมีมากมาย เช่น ภาษา Fortran , Cobol , Lisp , PL / 1 , Basic , Pascal , C , Ada , C++ , Perl , Java เป็นต้น แต่ภาษาที่นามาให้นักเรียนเรียนในวิชาการเขียนโปรแกรมภาษา C คือ โปรแกรมภาษา C นั้นเอง ซึ่งเป็นรากฐานที่ดีที่สุดสาหรับผู้เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการใช้สัญลักษณ์ Flowchart แทนคาสั่ง โดยไม่อิงถึงคาสั่งในภาษาใดภาษาหนึ่ง ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้น ก่อนจะเข้าสู่การเขียนโปรแกรมภาษา C นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมก่อนโดยมีเนื้อหาต่างๆ ดังนี้

 1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปการนาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทางานต่าง ๆ นั้น ถ้าเฉพาะตัวเครื่องและอุปกรณ์หรือ "ฮาร์ดแวร์"(Hardware) นั้น จะไม่สามารถทางานได้ เพราะเครื่องยังไม่มีสิ่งที่จะมาจัดการหรือควบคุมระบบต่าง ๆ ดังนั้นจึงต้องมีโปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบและใช้งาน ซึ่งเราเรียกว่า "ซอฟต์แวร์"(Software) แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจเราจึงต้องพึ่งพาบุคลากร หรือ"พีเพิลแวร์" (Pepleware) มาสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทางานตามกระบวนการ (Procedure) ดังนั้นสรุปได้ว่าองค์ประกอบที่จะทาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทางานได้นั้น ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
            1.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทางานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนามาลงหรือติดตั้งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อให้ทางานได้
            1.2 ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือชุดคาสั่งที่เขียนขึ้น เป็นองค์ประกอบที่สาคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลาดับขั้นตอนของคาสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทางาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ                         1. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software-OS)หมายถึง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ควบคุมการทางานทั้งหมดของเครื่อง ได้แก่ Windows , Dos , Linux , Unix , Mac
                      2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)หมายถึงโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทางานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมสาเร็จรูปต่างๆ
           1.3 ข้อมูล (Data) ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สาคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสาเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกาเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์
           1.4 บุคลากร หรือพีเพิลแวร์ (People ware) บุคลากรเป็นองค์ประกอบสาคัญในความสาเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้
                    1. ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทางานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้น ๆ เช่น พิมพ์งาน ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
                    2. ผู้ดูแลและซ่อมบารุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter or Technician) หมายถึง ผู้คอยดูแลตรวจสอบสภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพพร้อมที่จะทางานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิค การดูแล รักษา การซ่อมแซม การต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ค่อนข้างดี
                    3. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer :โปรแกรมเมอร์) หมายถึง ผู้เขียนโปรแกรมตามที่ผู้ออกแบบและผู้วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กาหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคาสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่างๆ ได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้
                    4. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis) หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่า องค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสมุด เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมอร์ทางานในส่วนต่อไป 5. ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager or Administrator) คือ ผู้ที่มีหน้าที่บริหาร และดูแลทรัพยาการทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
           1.5 กระบวนการทางาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทางานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทางานกับคอมพิวเตอร์จาเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทางาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น