ตัวชี้วัด
ว 4.1 เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
1. วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์
หรือคณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี
2. ระบุปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อสังคม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
กับปัญหาที่มีความซับซ้อนเพื่อสังเคราะห์วิธีการ เทคนิคในการแก้ปัญหา โดยคานึงถึงความถูกต้อง
ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จาเป็นภายใต้เงื่อนไข
และทรัพยากรที่มีอยู่ นาเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่หลากหลาย
โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทางานและดาเนินการแก้ปัญหา
4. ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเงื่อนไข
หาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนาเสนอผลการแก้ปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาต่อยอด
5. ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยี
ที่ซับซ้อนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย
รวมทั้งหมด 5 ตัวชี้วัด
ที่มา: http://designtechnology.ipst.ac.th/
เว็บบล็อกเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ผลกระทบของเทคโนโลยี
การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับความเจริญก้าวหน้า
ทางด้านเทคโนโลยีซึ่งเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มั่นคง
และเติบโตอย่างต่อเนื่องนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างไรก็ตามมนุษย์จำเป็นต้องเตรียมรับมือ
กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้การพัฒนาและสร้างเทคโนโลยี ซึ่งมีผลทั้งด้านบวกและด้านลบ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้
ทางด้านเทคโนโลยีซึ่งเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มั่นคง
และเติบโตอย่างต่อเนื่องนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างไรก็ตามมนุษย์จำเป็นต้องเตรียมรับมือ
กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้การพัฒนาและสร้างเทคโนโลยี ซึ่งมีผลทั้งด้านบวกและด้านลบ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้
- ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อมนุษย์และสังคม
- ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจ
- และผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
กิจกรรม ที่ 3
ให้นักเรียนเลือก Review เทคโนโลยีที่นักเรียนสนใจที่มีใช้อยู่ในชีวิตประจำวันและให้บอกถึงสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้นอีกครั้งผลกระทบที่ได้จากการนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้ โดยจัดทำเป็นคลิปวีดีโอความยาวไม่เกิน 2 นาที นาทีและ Uploadอัพโหลดที่เว็บไซต์ของตนเองในหน้าเพจ DAT
วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
คำอธิบายรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เวลา 40 ชั่วโมง
ศึกษา วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาผลงานสาหรับแก้ปัญหาที่คานึงถึง ผลกระทบต่อสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการบริการ โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งใช้ความรู้ ทักษะ และเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแก้ปัญหาได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย คานึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและนาเสนอผลงาน
เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เวลา 40 ชั่วโมง
กิจกรรม 2.1 สาเหตุหรือปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
ให้นักเรียนสร้างตาราง (ในหนังสือแบบเรียนหน้า 27)กิจกรรม โดยใช้ Google Slide แล้วแชร์ข้อมูล เป็นลิงก์ส่งที่ฟอร์มข้างล่างนี้
วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
เริ่มต้นการเขียนโปรแกรม
Code Blocks เป็นโปรแกรม สำหรับการเขียนโปรแกรมภาษา C++ คือ ตัวพัฒนาแบบโอเพนซอร์สเบ็ดเสร็จที่ทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ซึ่งรองรับการใช้งานคอมไพเลอร์ได้หลากหลาย เช่น GCC (MingW/GNU GCC), MSVC, Digital Mars, Borland C++ 5.5 และ Open Watcom โดยคอมไพเลอร์แบบพื้นฐานที่มากับ Code Blocks ก็คือ MinGW.
**สังเกตว่าเมื่อพิมพ์จบ 1 คำสั่งต้องใส่ semi-colon (;) เสมอ เพื่อบอกว่าสิ้นสุดแต่ละคำสั่งแล้ว
จากนั้นทำการ Build and run ด้วยการกด F9 จะได้ผลการทำงานดังรูป
แบบฝึกหัด
1. ลบ semi-colon ในบรรทัดที่ 5 ออกแล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
2. ลบบรรทัดที่ 1 ออกแล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
3. แก้ชื่อฟังก์ชัน main เป็น start แล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
4. เปลี่ยน return 0 ในบรรทัดที่ 7 เป็น return 1 แล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
5. แก้โปรแกรมด้านล่าง ให้แสดงชื่อ, นามสกุล และรหัสนักศึกษา แทน "hello world"
(Hint: เราสามารถตรวจสอบรายละเีอียดการทำงานของโปรแกรมได้ด้วย Build log ด้านล่างของหน้าต่างโปรแกรม Code::Blocks)
Code Blocks เป็นโปรแกรม สำหรับการเขียนโปรแกรมภาษา C++ คือ ตัวพัฒนาแบบโอเพนซอร์สเบ็ดเสร็จที่ทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ซึ่งรองรับการใช้งานคอมไพเลอร์ได้หลากหลาย เช่น GCC (MingW/GNU GCC), MSVC, Digital Mars, Borland C++ 5.5 และ Open Watcom โดยคอมไพเลอร์แบบพื้นฐานที่มากับ Code Blocks ก็คือ MinGW.
เปิดโปรแกรม Code::Blocks จะพบหน้าต่างดังรูป
ให้กดเมนู File > New > Empty file เพื่อสร้างไฟล์ใหม่
ในโปรแกรมแรกนี้ จะเขียนให้โปรแกรมแสดงข้อความ hello world ให้พิมพ์ code ดังรูป
จากนั้น save เป็นชื่อ 01.c
เมื่อพิจารณา code มีรายละเอียดดังนี้
ให้กดเมนู File > New > Empty file เพื่อสร้างไฟล์ใหม่
ในโปรแกรมแรกนี้ จะเขียนให้โปรแกรมแสดงข้อความ hello world ให้พิมพ์ code ดังรูป
จากนั้น save เป็นชื่อ 01.c
เมื่อพิจารณา code มีรายละเอียดดังนี้
บรรทัดที่ | รายละเอียด |
1, 2 | นำ header file มาประกอบ (include) เข้ากับโปรแกรมของเรา ซึ่งภายในไฟล์เหล่านี้เก็บฟังก์ชันที่สำคัญต่อการเขียนโปรแกรมเช่น ฟังก์ชัน printf() ซึ่งถูกระบุรายละเอียดอยู่ในไฟล์ stdio.h ฟังก์ชัน getch() ซึ่งถูกระบุอยู่ในไฟล์ conio.h |
3 | ประกาศฟังก์ชัน main ซึ่งเป็นฟังก์ชันแรก (เสมอ) ที่จะทำงานเมื่อเราสั่ง run โปรแกรมโดย int หน้า main หมายถึงโปรแกรมของเราจะไม่คืนค่าให้ระบบ (พูดง่ายๆ คือwindows นั่นเอง) เมื่อจบการทำงาน void ในวงเล็บ หมายถึงโปรแกรมของเราจะไม่มีการรับค่าจากระบบใดๆ เมื่อเริ่มทำงาน **การประกาศฟังก์ชันใดๆ จะต้องกำหนดการคืนค่าจะรับค่าในรูปแบบนี้ **การประกาศฟังก์ชัน main ต้องไม่มีการรับค่าและมีการคืนค่าเป็น int |
4, 8 | บอกของเขตของฟังก์ชัน main ด้วยปีกกา **การกำหนดขอบเขตของฟังก์ชันใดๆ ก็ใช้ปีกกาเหมือนกัน |
5 | เรียกฟังก์ชัน printf() ให้แสดงข้อความแสดงที่หน้าจอ **สังเกตการส่งข้อความหรือ input ให้กับฟังก์ชันใดๆ ต้องใส่ input ไว้ในวงเล็บ |
6 | เรียกฟังก์ชัน getch() เพื่อให้โปรแกรมหยุดรอการเคาะคีย์บอร์ด |
7 | กำหนดการคืนค่าของฟังก์ชัน main ให้ระบบโดยระบบจะตีความหมายดังนี้ ถ้าโปรแกรมคืนค่า 0 หมายถึงโปรแกรมทำงานถูกต้อง ถ้าโปรแกรมคืนค่า 1 หมายถึงโปรแกรมทำงานผิดพลาด |
**สังเกตว่าเมื่อพิมพ์จบ 1 คำสั่งต้องใส่ semi-colon (;) เสมอ เพื่อบอกว่าสิ้นสุดแต่ละคำสั่งแล้ว
จากนั้นทำการ Build and run ด้วยการกด F9 จะได้ผลการทำงานดังรูป
แบบฝึกหัด
1. ลบ semi-colon ในบรรทัดที่ 5 ออกแล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
2. ลบบรรทัดที่ 1 ออกแล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
3. แก้ชื่อฟังก์ชัน main เป็น start แล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
4. เปลี่ยน return 0 ในบรรทัดที่ 7 เป็น return 1 แล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
5. แก้โปรแกรมด้านล่าง ให้แสดงชื่อ, นามสกุล และรหัสนักศึกษา แทน "hello world"
(Hint: เราสามารถตรวจสอบรายละเีอียดการทำงานของโปรแกรมได้ด้วย Build log ด้านล่างของหน้าต่างโปรแกรม Code::Blocks)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)