วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ตัวชีวัด

ตัวชี้วัด

ว 4.1 เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
1. วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์
หรือคณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี

2. ระบุปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อสังคม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
กับปัญหาที่มีความซับซ้อนเพื่อสังเคราะห์วิธีการ เทคนิคในการแก้ปัญหา โดยคานึงถึงความถูกต้อง
ด้านทรัพย์สินทางปัญญา

3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จาเป็นภายใต้เงื่อนไข
และทรัพยากรที่มีอยู่ นาเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่หลากหลาย
โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทางานและดาเนินการแก้ปัญหา

4. ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเงื่อนไข
หาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนาเสนอผลการแก้ปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาต่อยอด


5. ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยี
ที่ซับซ้อนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

รวมทั้งหมด 5 ตัวชี้วัด

ที่มา: http://designtechnology.ipst.ac.th/

ผลกระทบของเทคโนโลยี

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับความเจริญก้าวหน้า
ทางด้านเทคโนโลยีซึ่งเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มั่นคง
และเติบโตอย่างต่อเนื่องนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างไรก็ตามมนุษย์จำเป็นต้องเตรียมรับมือ
กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้การพัฒนาและสร้างเทคโนโลยี  ซึ่งมีผลทั้งด้านบวกและด้านลบ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้
  •       ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อมนุษย์และสังคม
  •       ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจ
  •       และผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม ที่ 3
ให้นักเรียนเลือก Review เทคโนโลยีที่นักเรียนสนใจที่มีใช้อยู่ในชีวิตประจำวันและให้บอกถึงสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้นอีกครั้งผลกระทบที่ได้จากการนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้    โดยจัดทำเป็นคลิปวีดีโอความยาวไม่เกิน 2 นาที นาทีและ Uploadอัพโหลดที่เว็บไซต์ของตนเองในหน้าเพจ DAT

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เวลา 40 ชั่วโมง

                      ศึกษา วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาผลงานสาหรับแก้ปัญหาที่คานึงถึง ผลกระทบต่อสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการบริการ โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งใช้ความรู้ ทักษะ และเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแก้ปัญหาได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย คานึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและนาเสนอผลงาน

กิจกรรมเสริมทักษะ


กิจกรรม 2.1 สาเหตุหรือปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

ให้นักเรียนสร้างตาราง (ในหนังสือแบบเรียนหน้า 27)กิจกรรม โดยใช้ Google Slide  แล้วแชร์ข้อมูล เป็นลิงก์ส่งที่ฟอร์มข้างล่างนี้
 

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

เริ่มต้นการเขียนโปรแกรม

            Code Blocks เป็นโปรแกรม  สำหรับการเขียนโปรแกรมภาษา C++ คือ ตัวพัฒนาแบบโอเพนซอร์สเบ็ดเสร็จที่ทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ซึ่งรองรับการใช้งานคอมไพเลอร์ได้หลากหลาย เช่น GCC (MingW/GNU GCC), MSVC, Digital Mars, Borland C++ 5.5 และ Open Watcom โดยคอมไพเลอร์แบบพื้นฐานที่มากับ Code Blocks ก็คือ MinGW.
เปิดโปรแกรม Code::Blocks จะพบหน้าต่างดังรูป


ให้กดเมนู File > New > Empty file เพื่อสร้างไฟล์ใหม่


ในโปรแกรมแรกนี้ จะเขียนให้โปรแกรมแสดงข้อความ hello world ให้พิมพ์ code ดังรูป

จากนั้น save เป็นชื่อ 01.c
เมื่อพิจารณา code มีรายละเอียดดังนี้
บรรทัดที่รายละเอียด
1, 2นำ header file มาประกอบ (include) เข้ากับโปรแกรมของเรา ซึ่งภายในไฟล์เหล่านี้เก็บฟังก์ชันที่สำคัญต่อการเขียนโปรแกรมเช่น

ฟังก์ชัน printf() ซึ่งถูกระบุรายละเอียดอยู่ในไฟล์ stdio.h
ฟังก์ชัน getch() ซึ่งถูกระบุอยู่ในไฟล์ conio.h
3ประกาศฟังก์ชัน main ซึ่งเป็นฟังก์ชันแรก (เสมอ) ที่จะทำงานเมื่อเราสั่ง run โปรแกรมโดย

int หน้า main หมายถึงโปรแกรมของเราจะไม่คืนค่าให้ระบบ (พูดง่ายๆ คือwindows นั่นเอง) เมื่อจบการทำงาน

void ในวงเล็บ หมายถึงโปรแกรมของเราจะไม่มีการรับค่าจากระบบใดๆ เมื่อเริ่มทำงาน

**การประกาศฟังก์ชันใดๆ จะต้องกำหนดการคืนค่าจะรับค่าในรูปแบบนี้
**การประกาศฟังก์ชัน main ต้องไม่มีการรับค่าและมีการคืนค่าเป็น int
4, 8บอกของเขตของฟังก์ชัน main ด้วยปีกกา

**การกำหนดขอบเขตของฟังก์ชันใดๆ ก็ใช้ปีกกาเหมือนกัน
5เรียกฟังก์ชัน printf() ให้แสดงข้อความแสดงที่หน้าจอ

**สังเกตการส่งข้อความหรือ input ให้กับฟังก์ชันใดๆ ต้องใส่ input ไว้ในวงเล็บ
6เรียกฟังก์ชัน getch()  เพื่อให้โปรแกรมหยุดรอการเคาะคีย์บอร์ด
7กำหนดการคืนค่าของฟังก์ชัน main ให้ระบบโดยระบบจะตีความหมายดังนี้

ถ้าโปรแกรมคืนค่า 0 หมายถึงโปรแกรมทำงานถูกต้อง
ถ้าโปรแกรมคืนค่า 1 หมายถึงโปรแกรมทำงานผิดพลาด

**สังเกตว่าเมื่อพิมพ์จบ 1 คำสั่งต้องใส่ semi-colon (;) เสมอ เพื่อบอกว่าสิ้นสุดแต่ละคำสั่งแล้ว

จากนั้นทำการ Build and run ด้วยการกด F9 จะได้ผลการทำงานดังรูป



แบบฝึกหัด
1. ลบ semi-colon ในบรรทัดที่ 5 ออกแล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
2. ลบบรรทัดที่ 1 ออกแล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
3. แก้ชื่อฟังก์ชัน main เป็น start แล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
4. เปลี่ยน return 0 ในบรรทัดที่ 7 เป็น return 1 แล้วผลการทำงานเป็นอย่างไร
5. แก้โปรแกรมด้านล่าง ให้แสดงชื่อ, นามสกุล และรหัสนักศึกษา แทน "hello world"

(Hint: เราสามารถตรวจสอบรายละเีอียดการทำงานของโปรแกรมได้ด้วย Build log ด้านล่างของหน้าต่างโปรแกรม Code::Blocks)


วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แบบประเมินความพึงพอใจการอบรม สมองกลฝังตัว

คำอธิบาย  แบบประเมินฉบับนี้มีทั้งหมด 3 ตอน ขอให้ผู้ตอบแบบประเมินตอบให้ครบทั้ง 3 ตอน   เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป

คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับความพึงพอใจ / ความรู้ความเข้าใจ / การนำไปใช้